วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 8 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 
1.  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน  ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม
3.  การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 
-  ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
-  ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
-  ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
การพัฒนาระบบประกอบด้วย
            1)  กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ
            -  การปรับปรุงคุณภาพ
            -  การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน
            -  การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี
            -  การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว           
2)  บุคลากร (People) 
3)  วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ
4)  เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด  
5)  งบประมาณ (Budget)  
6)  ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
7)  การบริหารโครงการ (Project Management) 
 ทีมงานพัฒนาระบบ
การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล
1)  คณะกรรมการ (Steering Committee)
2)  ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)
3)  ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)
4)  นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ
                        -  ทักษะด้านเทคนิค
                        -  ทักษะด้านการวิเคราะห์ 
                        -  ทักษะดานการบริหารจัดการ 
                        -  ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร
5)  ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค 
                        -  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)
                        -  โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
6)  ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager) 

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อีคอมเมิร์ซ

หลักการด้านอีคอมเมิร์ซ
   พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซคือ  การค้าขายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต  อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตของทุกคน  อินเตอร์เนต จะเปลี่ยนวิธีการศึกษาหาความรู้ อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการทำมาค้าขาย อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการหาความสุขสนุกสนาน  อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมกันเข้ามาหาอินเตอร์เนต
   กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าโฮมเพจในอินเตอร์เนตบริษัทห้างร้านนั้นก็ไม่มีตัวตน นั่นคือไม่มีใครรู้จัก เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครทำมาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครทำมาค้าขายด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องล้มหายตายจากไป
   ว่ากันว่าอินเตอร์เนตคือแหล่งข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายผู้ผลิต  ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการที่จะซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่นการเข้าไปเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ มีการเข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซื้อ  หากจะกล่าวว่า “ข่าวสาร” คืออำนาจ ในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคก็ได้รับการติดอาวุธอย่างใหม่ที่มีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้าได้ผลดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาและพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
   ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้ประมาณรายได้ของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (B-to-B) ว่าเพิ่มขึ้นจาก 80 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,200 พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2542 เป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 40 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2546
คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซ
   คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซนั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่างๆ กันอันเนื่องมาจากมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถ้าถามอาจารย์สามคนว่าอีคอมเมิร์ซคืออะไร ก็คงได้คำตอบสี่คำตอบ คือแต่ละคนให้คำตอบคนละคำตอบ แล้วเมื่อมาประชุมปรึกษาหารือกันก็ตกลงกันเป็นอีกคำตอบหนึ่ง
   ถ้าถามนักอินเตอร์เนตหรือที่เรียกกันว่าอินเตอร์นอต (Internaut แบบเดียวกับ Asternaut) ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต
ถ้าถามนักสื่อสารก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการใช้ระบบสื่อสารในการส่งโฆษณา สินค้าและบริการไปให้ลูกค้า การใช้ระบบสื่อสาร โดยลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและการจ่ายเงิน
   ถ้าถามผู้ให้บริการก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการให้บริการให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ให้บริการผู้ซื้อได้ดูโฆษณาเลือกหาสินค้า และให้บริการเจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า
ถ้าถามนักเทคโนโลยี ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขาย

   สรุปอย่างง่ายๆ โดยสังเขปก็อาจจะได้ความว่า อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
     (1) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เนต
     (2) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เนต
     (3) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น
     (4) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น
     (5) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ
     (6) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ
     (7) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย้
ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป
     การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น
หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย
ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
   มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
     (1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต
     (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต
     (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
     (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
     (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้
     (1)อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
     - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา  กระดานข่าว  เป็นต้น
     - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร  ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น  เช่น  อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
     - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล  ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เนตได้โดยสะดวก

     (2)อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
     - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
     - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
     - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น

     (3)อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce)  ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
     - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
     - การจัดการสินค้าคงคลัง
     - การจัดส่งสินค้า
     - การจัดการช่องทางขายสินค้า
     - การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน   ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
     (1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
     (2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (3)อินเตอร์เนตอีดีไอ  หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
     (4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต  การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ  (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
     (1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต
     (2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น  สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ
     (1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม
     (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท
     (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมโคร

ไวรัสคอมพิวเตอร์
 จำความได้ตั้งแต่เริ่มเล่นคอมพิวเตอร์วันแรก ใคร ๆ ก็บอกให้ระวังไวรัส จะใช้งานคอมพิวเตอร์กันสักครั้งก็ต้องคอยระวังไวรัส ไวรัสสมัยแต่แรกจะระบาดผ่านทาง Floppy Disk กันเท่านั้น ซึ่งเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ไม่มีใครคิด   หรอกค่ะว่าสามารถเอาข้อมูลใส่แผ่น CD ได้ ดังนั้นเมื่อก่อนไวรัสจะแพร่กระจายช้า และมีอยู่ไม่กี่รูปแบบ สามารถ  ป้องกันได้ หากไม่ให้ใส่แผ่น Floppy Disk ไวรัสก็ไม่สามารถเข้าเครื่องได้แล้ว  ผ่านมาเกือบ 20 ปี สิ่งที่คิดว่าสูงเกินเอื้อม กลับมีไว้ในครอบครอง สิ่งที่คิดว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับคนรวย กลับมีใช้กันอย่างสามัญ ตัวไวรัสก็เช่นกัน จากที่ระบาดเฉพาะแผ่น Floppy Disk กลายเป็นระบาดผ่าน ThumbDrive  (Flash Drive)จากที่ระบาดจากเครื่องไปสู่เครื่อง กลายเป็นระบาดจากเครื่องไปสู่องค์กร ทั่วทุกมุมโลกในพริบตา  ตัวไวรัสเองก็มีหลายรูปแบบขึ้น แต่จุดมุ่งหมายหลักส่วนใหญ่มักประสงค์ร้าย กับคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หากดูข่าวว่ามีไวรัสระบาดที่อเมริกาเมื่อ 5 นาทีที่ผ่านมา คุณอาจเห็นว่ามันไกล แต่ด้วยเทคโนโลย
 อินเทอร์เน็ทที่เชื่อมโยกคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันจากทั่วทุกมุมโลกเจ้าไวรัสที่ระบาดในอเมริกาเมื่อ 5 นาทีนั้นอาจอยู่ในเครื่องของคุณแล้วด้วย

ความหมายของไวรัส
ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นมาแต่เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อก่อกวนการทำงาน ของระบบเลยทำลายแฟ้มข้อมูล โปรแกรมต่างๆที่มีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์สาเหตุที่ได้มีการเรียกชื่อกันว่าไวรัส คอมพิวเตอร์เนื่องมาจากคำว่า  ไวรัส มีความหมายว่าเป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่ระบาดและติดต่อได้อย่างรวดเร็วสามารถหลบซ่อนตัวไว้อยู่ในหน่วยความจำและจะอยู่ในหน่วยความจำตลอดจนกว่าจะปิดเครื่องเมื่อมีการนำแผ่นบันทึกอื่นๆมาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัสหลบซ่อนอยู่ในหน่วยความจำแผ่นบันทึกแผ่นนั้นก็จะติดไวรัสไปด้วยกำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์
กำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นโดย 2พี่น้องชาวปากีสถานมีชื่อว่า อัมจาด และเบซิต ซึ่งทั้ง2พี่น้องเปิดร้านขายคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ได้มีการปล่อยไวรัสเบรน (Brain) ไว้ในโปรแกรมที่ลูกค้ามาก๊อปปี้ไปใช้งานด้วยประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ ไวรัสที่ติดอยู่ในบูตเซกเตอร์ ไวรัสที่ติดตารางพาร์ติชั่น ไวรัสที่ติดในแฟ้มการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์มี 2 ทาง คือ ดิสก์และสายสื่อสาร

ประเภทของไวรัส

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
               
   1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (boot sector virus)

   2. ไฟล์ไวรัส (file virus)

   3. มาโครไวรัส (macro virus)

   4. โทรจัน (Trojan)

   5. หนอน (Worm)

เทคนิคการป้องกันไวรัส

 เทคนิคการป้องกันไวรัส ที่ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
   1. ใช้การคลิ๊กขวา->open เพื่อเข้า drive ทุกๆ drive และทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเราเอง หรือเครื่องคนอื่นทำให้ชินครับ ช้าแต่ชัวร์
   2. ถ้ามีเนต ให้ update antivirus ทุกวัน จะวันละกี่ครั้งก็แล้วแต่ อย่างน้อยคือ 1 ครั้ง
   3. ใช้ firefox ในการท่องเว็บ โอกาสติดไวรัสจะลดลง
   4. ตั้งค่า Folder option ให้โชว์ไฟล์ระบบ และ Hidden Files แล้วก็แสดงนามสกุลของไฟล์ด้วย
   5. จะคลิ๊กอะไรในเว็บ ก็ใจเย็นๆ มีสติ ก่อนคลิ๊ก โหลดอะไรก็อ่าน comment ของคนที่โหลดไปก่อนหน้าแล้วก็จะดีมาก
   6. อ่านมากรู้มาก ทั้งนิตยสาร computer และเว็บ it ต่างๆในเน็ต เช่น pantip.com
   7.ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3ระบบย่อยของสารสนเทศเพื่อการจัดการ

สาระการเรียนรู้
ระบบ MIS เป็นระบบใหญ่และมีความซับซ้อน จึงมีการแบ่งออกเป็นระบบย่อย ๆ ดังนี้
1. ระบบประมวลผลรายการ หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ เพื่อให้การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงานหรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบที่จัดหาหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้นปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นให้ช่วยการทำงานในสำนักงาน เพื่อเพิ่มผลิตและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน
ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ มีหน้าที่หลักดังนี้1. การทำบัญชี ทำหน้าที่ ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชี
2. การออกเอกสาร ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์กร
3. การทำรายงานควบคุม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารค่าง ๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์กร
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ1. ความผิดพลาดที่เกิดจากความสะเพร่า
2. ใช้แรงงานมาก
3. การสูญหายของข้อมูล
4. การตอบสนองที่ล่าช้า
วงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจ
1. การป้อนข้อมูล
2. การประมวลผลหรือการปฏิบัติงานกับข้อมูล
2.1 แบบครั้งต่อครั้ง
2.2 แบบตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง
3. การปรับปรุงฐานข้อมูล
4. การผลิตรายงานและเอกสาร
4.1 เอกสารที่เกี่ยวกับสารสนเทศ
4.2 เอกสารการปฏิบัติการ
4.3 เอกสารหมุนเวียน
5. การให้บริการสอบถาม
ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ
1. ระบบจ่ายเงินเดือน
2. ระบบบันทึกคำสั่งซื้อ
3. ระบบสินค้าคงคลัง
4. ระบบใบกำกับสินค้า
5. ระบบส่งสินค้า
6. ระบบบัญชีลูกหนี้
7. ระบบสั่งซื้อสินค้า
8. ระบบรับสินค้า
9. ระบบบัญชีเจ้าหนี้
10. ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป
ระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ มีคุณสมบัติสำคัญดังนี้
1. สามารถที่จะสนับสนุนการตัดสินใจทั้งที่เป็นแบบโครงสร้างและกึ่งโครงสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลลิตเอกสารหรือรายงานตามตารางที่กำหนด
3. ถูกผลิตออกมาในรูปแบบที่คงที่หรือถูกกำหนดไว้
4. สารสนเทศที่บรรจุอยู่ในรายงานหรือเอกสารมักจะเป็นสารสนเทศ
5. บ่อยครั้งที่รายงานหรือเอกสารจะถูกผลิตในรูปของกระดาษ
ประเภทของรายงาน
รายงาน เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยรวบรวมข้อมูลสำคัญในแต่ละเรื่อง เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงานของผู้ใช้หรือการตัดสินใจของผู้บริหาร
1. รายงานที่ออกตามตาราง
2. รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ
3. รายงานที่ออกตามความต้องการ
4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์
คุณสมบัติของสารสนเทศในระบบจัดทำรายงาน

1. ตรงประเด็น
2. ความถูกต้อง
3. ถูกเวลา
4. สามารถพิสูจน์ได้
ประเภทของสำนักงาน
1. การตัดสินใจ
2. การจัดการเอกสาร
3. การเก็บรักษา
4. การจัดเตรียมข้อมูล
5. การติดต่อสื่อสาร
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยผู้ตัดสินใจที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่มีโครงสร้างระดับต่าง ๆ โดยสามารถทดสอบผลการตัดสินใจในการแก้ปัญหาด้วยตัวแบบข้อมูลและทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ทำการตัดสินใจใช้ประกอบการตัดสินใจ จึงเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้งานและการโต้ตอบ
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1. การจัดการข้อมูล
2. การจัดการตัวแบบ
3. การจัดการความรู้
4. การติดต่อกับผู้ใช้
ระบบสารสนเทศสำหรับสำนักงาน
1. ระบบตัดการเอกสาร
1.1 การประมวลคำ
1.2 การผลิตเอกสารหลายชุด
1.3 การออกแบบเอกสาร
1.4 การประมวลรูปภาพ
1.5 การเก็บรักษา
2. ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร
2.1 โทรสาร
2.2 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2.3 ไปรษณีย์เสียง
3. ประทุมทางไกล
3.1 การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
3.2 การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
3.3 การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
3.4 โทรศัพท์ภายใน
3.5 การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
4. ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน
4.1 ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
4.2 ระบบจัดระเบียบงาน
4.3 คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
4.4 การนำเสนอประกอบภาพ
4.5 กระดานข่าวสารในสำนักงาน

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หน่วยที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

     สาระการเรียนรู้
คือ กระบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่างสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. ระบบประมวลผล
2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3. การจัดการ
      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กรอย่างมีหลักเกณฑ์ มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1.1 ฐานข้อมูล
1.2 เครื่องมือประกอบด้วยส่วนสำคัญ
  - อุปกรณ์ คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
  - ชุดคำสั่ง คือ ชดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารงาน
2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล
3. การแสดงผลลัพธ์
คุณสมบัติของสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล
2. ความปลอดภัยของข้อมูล
3. ความยืดหยุ่น
4. ความพอใจของผู้ใช้
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
2. ช่วยผู้ใช้ในการกำหนเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
3. ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
4. ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร
3. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง
4. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
ข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาอันสั้น
4. ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
5. ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
  ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
2. ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
3. ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์กรจะได้รับ
4. ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
5. ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
6. ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลและของระบบ
7. ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล
ข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
คุณสมบัติของข้อมูล
1. ความถูกต้อง
2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
3. ความสมบูรณ์
4. ความชัดเจนและกะทัดรัด
5. ความสอดคล้อง
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
  1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
  1.2 การตรวจสอบข้อมูล
2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
  2.1 การจัดแบ่งข้อมูล
  2.2 การจัดเรียงข้อมูล
  2.3 การสรุปผล
  2.4 การคำนวณ
3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพี่อการใช้งาน
  3.1 การเก็บรักษาข้อมูล
  3.2 การค้นหาข้อมูล
  3.3 การทำสำเนาข้อมูล
  3.4 การสื่อสาร
ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. MIS ถูกนำไปใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ
2. MIS เป็นระบบงานซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งหรือระบบย่อยหลาย ๆ ระบบที่มีความสัมพันธ์กัน
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ
4. MIS จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
5. สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
6. ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้
7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ MIS ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร
มีหน้าที่หลัก คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาไว้อย่างเป็นระบบ
1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์กร
2. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS คือ ระบบที่ช่วยให้เตรียมรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานผู้บริหารสามรถใช้สารสนเทศที่ได้จัดการกับปัญหาแบบโครงสร้าง
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจ แก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. เครื่องมือในการสร้าง MIS
2. เครื่องมือในการสร้าง MIS วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล
  2.1 ทำการประมวลผลข้อมูลทั่วไป
  2.2 ใช้ข้อมูลที่มีรายละเอียด
  2.3 ระยะเวลาในการใช้ข้อมูลเป็นระยะสั้น
  2.4 ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
3. มีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐานข้อมูล
4. การแสดงผลลัพธ์
5. มีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรข้อมูล
  5.1 การบริหารงานมีความซับซ้อนมากขึ้น
  5.2 ความจำเป็นในเรื่องกรอบเวลา
  5.3 การพัฒนาทางเทคนิค
  5.4 การตระหนักถึงคุณค่าและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำอธิบายรายวิชา

      จุดประสงค์รายวิชา
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารสนเทศเพื่อการจัดการ
2. มีความสามารถนำระบบสารสนเทศเพื่การจัดการไปวางแผนวิเคราะห์และออกแบบตลอดจนนำไปใช้พัฒนางานองค์กร
3. เห็นคุณค่าความสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

      มาตรฐานรายวิชา
1. ปฏิบัติการวางแผนและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ
2. ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ
3. นำระบบสารสนเทศไปใช้กับงานในอาชีพ          
      คำอธิบายรายวิชา
   ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมายและบทบาทของข้อมูลและสารสนเทศ ความสำคัญของระบบสารสนเทศกับองค์กรธุรกิจ โครงสร้างการบริหารในองคืกรธุรกิจระดับการใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น